ประเภทของสัตว์ทางสังคมวิทยา แบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือ
1. สัตว์สังคม เป็นสัตว์ที่อยู่ร่วมกันเป็นกลุ่ม เพื่อช่วยเหลือพึ่งพาอาศัยกันและกัน เช่น ผึ้ง แตน ต่อ ช้าง เป็นต้น
2. สัตว์โลก เป็นสัตว์ที่ดำรงชีวิตตามลำพังได้โดยไม่ต้องอยู่รวมกันเป็นกลุ่มก็ได้ เช่น จระเข้ แมว สุนัข แรด เป็นต้น
มนุษย์จัดเป็นสัตว์สังคมจำพวกสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม โดยมีลักษณะพิเศษเหนือกว่าสัตว์อื่น ๆ เพราะมีลักษณะดังนี้
1. อยู่ร่วมกันเป็นกลุ่ม
2. มีการพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน
3. มีความสัมพันธ์กันทางสังคม
4. มีการจัดระเบียบทางสังคม
ลักษณะพื้นฐานทางสังคม
สังคมมนุษย์หรือสังคมสัตว์จะมีลักษณะพื้นฐานร่วมกัน คือ
1. ระดับความสัมพันธ์ ต้องมีความสัมพันธ์ระหว่างหน่วยงานต่าง ๆ ที่มาอยู่ร่วมกันสูงกว่าการมารวมเป็นกลุ่มเฉย ๆ
2. หน่วยที่มารวมตัวกันต้องเป็นอิสระแยกอยู่ต่างหากจากกัน
ลักษณะพิเศษของมนุษย์ที่แตกต่างจากสัตว์อื่น
1. มีมันสมองขนาดใหญ่สามารถใช้สมองได้ดีกว่า มีสติปัญญาสูงและเฉลียวฉลาดกว่าสัตว์ เช่น มีการทดสอบข้อเท็จจริง มีการตั้งโจทย์ ปัญหา มีการศึกษาค้นคว้า เป็นต้น
2. มนุษย์สามารถสร้างและใช้สัญลักษณ์ต่าง ๆ ได้ดี เช่น ภาษา ท่าทาง กริยา เครื่องหมายต่าง ๆ ทำให้สามารถมนุษย์ถ่ายทอดลักษณะวัฒนธรรมต่อกันได้อย่างกว้างขวาง
3. มนุษย์มีพฤติกรรมที่เกิดขึ้นจากสังคมและวัฒนธรรมทำให้สังคมมนุษย์มีความเป็นระเบียบและสามารถสร้างความเจริญก้าวหน้าให้สังคมได้
สิ่งที่มนุษย์ต่างจากสัตว์อื่น
1. มีมันสมองขนาดใหญ่ ทำให้มีสติปัญญาเฉลียวฉลาด
2. มีร่างกายตั้งตรงกับพื้นโลก สามารถใช้มือได้อย่างมีประสิทธิภาพ
3. มีหัวแม่มืออยู่ตรงข้ามกับนิ้วอื่น ๆ และไม่ติดกัน
4. มีดวงตาอยู่ด้านหน้า สามารถมองเห็นสิ่งต่าง ๆ ได้ดี
5. มีความต้องการทางเพศไม่จำกัดฤดูกาล
6. มีระบบประสาทที่สลับซับซ้อน
สังคมมนุษย์
สังคม หมายถึง กลุ่มของสิ่งมีชีวิตที่มาอยู่รวมกันโดยมีความสัมพันธ์กันในลักษณะคงทนถาวร
สังคมมนุษย์ หมายถึง กลุ่มชนที่อาศัยอยู่ร่วมกันในดินแดนหนึ่ง มีความสัมพันธ์กันภายใต้ระเบียบและกฎเกณฑ์เดียวกัน มีลักษณะวัฒนธรรมเหมือนกัน
ลักษณะที่สำคัญของสังคม
1. มีอาณาเขต บริเวณที่อยู่อาศัยที่แน่นอน
2. ประกอบด้วยกลุ่มคนที่อยู่ร่วมกันอย่างถาวรทุกเพศทุกวัย
3. มีความสัมพันธ์ทางสังคม และพึ่งพาอาศัยกัน
4. เป็นกลุ่มคนที่มีอิสระในการประกอบอาชีพและเลี้ยงตัวเองได้
5. กลุ่มดำเนินไปเรื่อย ๆ ดำรงอยู่และสืบทอดโดยอนุชนรุ่นหลัง
6. มีวัฒนธรรมหรือวิถีชีวิตเด่นชัดเป็นของตนเอง
สาเหตุที่มนุษย์อยู่ร่วมกันเป็นสังคม
1. เพื่อสนองความต้องการพื้นฐาน ได้แก่
- ความต้องการทางกายภาพ เช่น ต้องการสิ่งอำนวยความสะดวกสบายในการดำรงชีวิต
- ความต้องการทางชีวภาพ เช่น อาหาร เครื่องนุ่งห่ม ที่อยู่อาศัย ยารักษาโรค
- ความต้องการทางจิตใจ เช่น ความรัก ความอบอุ่น
- ความต้องการทางสังคม เช่น ต้องการเป็นที่ยอมรับของคนในสังคม อันทำให้เกิดอำนาจ เกียรติยศชื่อเสียง
2. เพื่อทำให้มีความเป็นมนุษย์สมบูรณ์
3. เพื่อสร้างความเจริญให้กับตนเองและสังคม
หน้าที่ของสังคมมนุษย์
1. ผลิตสมาชิกใหม่และทำนุบำรุงสมาชิกเก่า
2. ผลิตสินค้าและบริการเพื่อสนองความต้องการ
3. อบรมสมาชิกให้เรียนรู้ระเบียบกฎเกณฑ์ของสังคม
ลักษณะที่มนุษย์เหมือนกับสัตว์อื่น
1. ต้องอาศัยสิ่งแวดล้อมทั้งทางชีวภาพ และทางธรรมชาติเพื่อบำบัดความต้องการต่าง ๆ
2. มีลักษณะคล้ายผู้ให้กำเนิดหรือบรรพบุรุษ
3. สามารถปรับตัวเข้ากับสิ่งแวดล้อมได้ ผู้ที่ปรับตัวไม่ได้จึงมักเสียเปรียบ
4. มีความสามารถแสวงหา หรือค้นคว้าวิธีการต่อสู้เพื่อให้ได้ในสิ่งที่ตนต้องการ
5. ต้องการอาหาร น้ำ อากาศ และที่อยู่อาศัย
6. มีความสามารถในการสืบพันธ์ หรือสร้างสมาชิกใหม่
2. สัตว์โลก เป็นสัตว์ที่ดำรงชีวิตตามลำพังได้โดยไม่ต้องอยู่รวมกันเป็นกลุ่มก็ได้ เช่น จระเข้ แมว สุนัข แรด เป็นต้น
มนุษย์จัดเป็นสัตว์สังคมจำพวกสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม โดยมีลักษณะพิเศษเหนือกว่าสัตว์อื่น ๆ เพราะมีลักษณะดังนี้
1. อยู่ร่วมกันเป็นกลุ่ม
2. มีการพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน
3. มีความสัมพันธ์กันทางสังคม
4. มีการจัดระเบียบทางสังคม
ลักษณะพื้นฐานทางสังคม
สังคมมนุษย์หรือสังคมสัตว์จะมีลักษณะพื้นฐานร่วมกัน คือ
1. ระดับความสัมพันธ์ ต้องมีความสัมพันธ์ระหว่างหน่วยงานต่าง ๆ ที่มาอยู่ร่วมกันสูงกว่าการมารวมเป็นกลุ่มเฉย ๆ
2. หน่วยที่มารวมตัวกันต้องเป็นอิสระแยกอยู่ต่างหากจากกัน
ลักษณะพิเศษของมนุษย์ที่แตกต่างจากสัตว์อื่น
1. มีมันสมองขนาดใหญ่สามารถใช้สมองได้ดีกว่า มีสติปัญญาสูงและเฉลียวฉลาดกว่าสัตว์ เช่น มีการทดสอบข้อเท็จจริง มีการตั้งโจทย์ ปัญหา มีการศึกษาค้นคว้า เป็นต้น
2. มนุษย์สามารถสร้างและใช้สัญลักษณ์ต่าง ๆ ได้ดี เช่น ภาษา ท่าทาง กริยา เครื่องหมายต่าง ๆ ทำให้สามารถมนุษย์ถ่ายทอดลักษณะวัฒนธรรมต่อกันได้อย่างกว้างขวาง
3. มนุษย์มีพฤติกรรมที่เกิดขึ้นจากสังคมและวัฒนธรรมทำให้สังคมมนุษย์มีความเป็นระเบียบและสามารถสร้างความเจริญก้าวหน้าให้สังคมได้
สิ่งที่มนุษย์ต่างจากสัตว์อื่น
1. มีมันสมองขนาดใหญ่ ทำให้มีสติปัญญาเฉลียวฉลาด
2. มีร่างกายตั้งตรงกับพื้นโลก สามารถใช้มือได้อย่างมีประสิทธิภาพ
3. มีหัวแม่มืออยู่ตรงข้ามกับนิ้วอื่น ๆ และไม่ติดกัน
4. มีดวงตาอยู่ด้านหน้า สามารถมองเห็นสิ่งต่าง ๆ ได้ดี
5. มีความต้องการทางเพศไม่จำกัดฤดูกาล
6. มีระบบประสาทที่สลับซับซ้อน
สังคมมนุษย์
สังคม หมายถึง กลุ่มของสิ่งมีชีวิตที่มาอยู่รวมกันโดยมีความสัมพันธ์กันในลักษณะคงทนถาวร
สังคมมนุษย์ หมายถึง กลุ่มชนที่อาศัยอยู่ร่วมกันในดินแดนหนึ่ง มีความสัมพันธ์กันภายใต้ระเบียบและกฎเกณฑ์เดียวกัน มีลักษณะวัฒนธรรมเหมือนกัน
ลักษณะที่สำคัญของสังคม
1. มีอาณาเขต บริเวณที่อยู่อาศัยที่แน่นอน
2. ประกอบด้วยกลุ่มคนที่อยู่ร่วมกันอย่างถาวรทุกเพศทุกวัย
3. มีความสัมพันธ์ทางสังคม และพึ่งพาอาศัยกัน
4. เป็นกลุ่มคนที่มีอิสระในการประกอบอาชีพและเลี้ยงตัวเองได้
5. กลุ่มดำเนินไปเรื่อย ๆ ดำรงอยู่และสืบทอดโดยอนุชนรุ่นหลัง
6. มีวัฒนธรรมหรือวิถีชีวิตเด่นชัดเป็นของตนเอง
สาเหตุที่มนุษย์อยู่ร่วมกันเป็นสังคม
1. เพื่อสนองความต้องการพื้นฐาน ได้แก่
- ความต้องการทางกายภาพ เช่น ต้องการสิ่งอำนวยความสะดวกสบายในการดำรงชีวิต
- ความต้องการทางชีวภาพ เช่น อาหาร เครื่องนุ่งห่ม ที่อยู่อาศัย ยารักษาโรค
- ความต้องการทางจิตใจ เช่น ความรัก ความอบอุ่น
- ความต้องการทางสังคม เช่น ต้องการเป็นที่ยอมรับของคนในสังคม อันทำให้เกิดอำนาจ เกียรติยศชื่อเสียง
2. เพื่อทำให้มีความเป็นมนุษย์สมบูรณ์
3. เพื่อสร้างความเจริญให้กับตนเองและสังคม
หน้าที่ของสังคมมนุษย์
1. ผลิตสมาชิกใหม่และทำนุบำรุงสมาชิกเก่า
2. ผลิตสินค้าและบริการเพื่อสนองความต้องการ
3. อบรมสมาชิกให้เรียนรู้ระเบียบกฎเกณฑ์ของสังคม
ลักษณะที่มนุษย์เหมือนกับสัตว์อื่น
1. ต้องอาศัยสิ่งแวดล้อมทั้งทางชีวภาพ และทางธรรมชาติเพื่อบำบัดความต้องการต่าง ๆ
2. มีลักษณะคล้ายผู้ให้กำเนิดหรือบรรพบุรุษ
3. สามารถปรับตัวเข้ากับสิ่งแวดล้อมได้ ผู้ที่ปรับตัวไม่ได้จึงมักเสียเปรียบ
4. มีความสามารถแสวงหา หรือค้นคว้าวิธีการต่อสู้เพื่อให้ได้ในสิ่งที่ตนต้องการ
5. ต้องการอาหาร น้ำ อากาศ และที่อยู่อาศัย
6. มีความสามารถในการสืบพันธ์ หรือสร้างสมาชิกใหม่
วัฒนธรรม
วัฒนธรรม หมายถึง ความเจริญงอกงามทั้งทางด้านวัตถุและจิตใจที่มนุษย์สร้างขึ้นในสังคมหนึ่ง ที่มีการสืบทอดมาเป็นเวลานานและตกทอดไปสู่ชนรุ่นหลัง ได้แก่ ภาษา ศาสนา ขนบธรรมเนียมประเพณี การแต่งกาย เป็นต้น
ประเภทของวัฒนธรรม
1. วัฒนธรรมทางวัตถุหรือรูปนาม ได้แก่ สิ่งประดิษฐ์ต่าง ๆ เช่น ตู้เย็น โทรทัศน์ สถาปัตยกรรม เครื่องจักรกล
2. วัฒนธรรมที่ไม่ใช่วัตถุหรือนามธรรม ได้แก่ ภาษา อุดมการณ์ ค่านิยม ขนบธรรมเนียมประเพณี
ลักษณะของวัฒนธรรม
1. เกิดจากการเรียนรู้ ไม่ใช่ถ่ายทอดทางชีวภาพหรือกรรมพันธุ์
2. เป็นวิถีชีวิตหรือแบบแผนการดำรงชีวิต
3. เป็นมรดกทางสังคมถ่ายทอดมาสู่ชนรุ่นหลังได้
4. มีการเปลี่ยนแปลงได้ ปรับปรุงให้ดีขึ้นหรือสูญสลายไป
5. เพื่อตอบสนองความต้องการของสมาชิกในสังคม
ความสำคัญของวัฒนธรรม
1. สนองความต้องการของมนุษย์
2. เป็นเครื่องมือในการจัดระเบียบทางสังคม
3. สร้างความเจริญให้สังคม
4. สร้างความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันแก่สมาชิก
5. สร้างเอกลักษณ์ของสังคม
6. สร้างมรดกทางสังคม
ลักษณะสำคัญของวัฒนธรรมไทย
1. เป็นวัฒนธรรมที่นับถือระบบเครือญาติ
2. เป็นวัฒนธรรมที่เชื่อถือในการบุญการกุศลในเทศกาลต่าง ๆ
3. เป็นวัฒนธรรมที่มีแบบแผนพิธีกรรม มีขั้นตอนต่าง ๆ ในการประกอบพิธี
4. เป็นวัฒนธรรมแบบเกษตรกรรม
5. เป็นวัฒนธรรมที่นิยมความสนุกสนาน การละเล่นที่แสดงถึงความยิ่งใหญ่ของงาน
6. เป็นวัฒนธรรมผสมผสานของวัฒนธรรมชาติอื่น ๆ เข้าผสมผสานด้วย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น